เกิดความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในจีน หลังมีการประกาศแต่งตั้งผู้นำคนใหม่ของกองกำลังจรวดกองทัพปลดปล่อยประชาชน (PLA Rocket Force) ที่รับผิดชอบอาวุธนิวเคลียร์ของกองทัพจีน หลังจากผู้บัญชาการคนเก่าเจอข้อครหาว่าอาจมีส่วนพัวพันกับการทุจริต
โดย หวัง โฮ่วปิน อดีตรองผู้บัญชาการกองทัพเรือจะกลายเป็นผู้บัญชาการคนใหม่ของกองกำลังจรวดฯ ในขณะที่ สวี ซีเซิ่ง จะย้ายจากกองบัญชาการภาคใต้ มาเป็นผู้ตรวจการกองกำลังคนใหม่
การแต่งตั้งของพวกเขาได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวานนี้ (31 ก.ค.) โดยทั้งสองได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากพลโทเป็นพลเอก ทั้งนี้ นายพลทั้งสองไม่เคยปฏิบัติหน้าที่ในกองกำลังจรวดฯ มาก่อน
นาซาวุ่น! “ยานวอยเอจเจอร์ 2” สูญหาย หลังออกคำสั่งพลาดจนขาดการติดต่อ
ยูเนสโกจ่อขึ้นทะเบียน “เวนิส” เป็นมรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตราย
ขณะเดียวกัน หน่วยต่อต้านการทุจริตของคณะกรรมาธิการทหารกลางกำลังสืบสวนอดีตผู้บัญชาการของกองกำลังจรวดฯ อย่าง หลี่ ยู่เชา รวมถึงผู้ช่วย จาง เจิ้นจง และอดีตผู้ช่วย หลิว กวงปิน โดยแม้ไม่มีการประกาศต่อสาธารณชนเกี่ยวกับการสืบสวนของทั้งสามคน แต่เชื่อว่าพวกเขาถูกทีมสืบสวนคุมตัวไว้แล้ว เพื่อสอบสวนกรณีการทุจริต
เป็นเรื่องไม่บ่อยนักที่ประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง จะเปลี่ยนผู้บัญชาการกองกำลัง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่คล้ายกันนี้เคยเกิดขึ้นกับหน่วยงานตำรวจในเดือนธันวาคม 2014 หลังจากที่มีการประกาศว่า อดีตหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง โจว หย่งคัง ถูกกล่าวหาว่าทุจริต และถูกจำคุกตลอดชีวิต
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สี จิ้นผิง เรียกร้องให้กองทัพเพิ่มความพยายามในการจัดการกับการคอร์รัปชันควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนและปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“เราจำเป็นต้องผลักดันระเบียบวินัยที่เข้มงวดของพรรคและความพยายามในการต่อต้านการทุจริตไปสู่ระดับที่ลึกยิ่งขึ้น” ประธานาธิบดีจีนกล่าว
สำหรับกองกำลังจรวดฯ นั้น เป็นหน่วยสำคัญของกลยุทธ์การป้องปรามนิวเคลียร์ของประเทศจีน และความพยายามในการเพิ่มแรงกดดันทางทหารต่อไต้หวัน
การตัดสินใจย้ายนายพลหวังจากกองทัพเรือไปยังกองกำลังจรวดฯ นั้นเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่นักวิเคราะห์ด้านกลาโหมกล่าวว่า มันสะท้อนถึงความมั่นใจของกองทัพจีนในความสามารถในการทำสงครามแบบผสมผสานของเขา
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กองทัพจีนได้พยายามปรับปรุงระบบนิวเคลียร์ในปฏิบัติการทางอากาศ ทางบก และทางทะเล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเพื่อให้แน่ใจว่า ทุกหน่วยการสู้รบสามารถทำงานร่วมกันได้
โจว เฉินหมิง นักวิจัยจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการทหารหยวนหวัง ในปักกิ่ง กล่าวว่า “มันไม่ใช่ปัญหาสำหรับผู้บัญชาการกองทัพเรือในการเป็นผู้นำกองกำลังจรวดฯ เพราะกองทัพเรือมีหน้าที่ต้องดูแลอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธศาสตร์อยู่แล้ว”
ด้าน หนี่ เล่อสยง นักวิเคราะห์ทางทหารจากภาควิชารัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยการเมืองและกฎหมายเซี่ยงไฮ้ กล่าวเสริมว่า “ในการทำสงครามสมัยใหม่ในปัจจุบัน ผู้บังคับบัญชาระดับสูงทุกคนในกองทัพเรือ กองทัพบก และกองทัพอากาศ จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนในการทำสงครามผสมผสาน”
เรียบเรียงจาก SCMP
ภาพจาก AFP