เป็นกระแสขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อคอลัมนิสต์ชื่อดัง เขียนบทความถามความเห็นแบงก์ชาติ กรณีแบงก์ไทยทำกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์จากอานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้น โดยในตอนหนึ่งได้เขียนถึงส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิหรือ NIMซึ่งในบทความระบุว่า เป็นเหตุผลที่แบงก์ไทยทำกำไรได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะมาจาก "การเพิ่มขึ้นของส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ" หรือ NIM
นายกฯไม่เห็นด้วย แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยฯ
โฆษกรัฐบาล เผยข้อความคอลัมน์นิสต์ดัง ถามแบงก์ชาติ ตรงกับสภาพเศรษฐกิจไทยห้วงขณะนี้
พร้อมขยายความว่าขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น แบงก์ก็ขยับ “ส่วนต่าง” ของดอกเบี้ยเงินฝากกับเงินกู้ของแบงก์ไทยเพิ่มขึ้นจากเดิม จ่ายดอกเบี้ยคนฝากเงินน้อย ๆ แต่ให้กู้แพง ๆ ทำกำไรแบบง่ายๆ
พีพีทีวี มาทำความรู้จักกับ NIM โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย เคยมีข้อมูลเรื่องนี้ว่าส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคาร ไม่ได้ดูแค่ส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้
เพราะ ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) เป็นเครื่องชี้ที่สะท้อนความสามารถในการหารายได้ของธนาคารพาณิชย์จากส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่าย โดยองค์ประกอบที่สำคัญของดอกเบี้ยรับคือ ปริมาณเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ธนาคารพาณิชย์จะต้องพิจารณาถึงต้นทุนต่าง ๆ ทั้งต้นทุนทางการเงิน ต้นทุนความเสี่ยงจากการให้กู้ หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ และต้นทุนการดำเนินงาน รวมถึงผลกำไรเพื่อการดำเนินธุรกิจและการเติบโตในอนาคต
หากต้นทุนต่าง ๆ ของธนาคารพาณิชย์ปรับลดลง ทั้งจากการลดต้นทุนความเสี่ยงของลูกหนี้ การลดต้นทุนการดำเนินงานจากการเพิ่มประสิทธิภาพของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งการส่งเสริมการแข่งขันในระบบการเงิน จะทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถส่งผ่านต้นทุนที่ลดลงไปยังธุรกิจและประชาชน ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ หรือ NIM ปรับลดลง และเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของประเทศต่อไป
และล่าสุดนายบรรยง พงษ์พานิช นักเศรษฐศาสตร์ ออกมาให้ความเห็นในกรณีนี้เช่นเดียวกันนี้ผ่าน Facebook ส่วนตัว Banyong Pongpanich ว่า "วันนี้จะมาถกเรื่องนี้กันนะครับ" พร้อมโพสต์ภาพประกอบ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) โดยอธิบายวิธีการคำนวณที่ทั้งถูกต้อง คือ ตามหลักสากลต้องดูรายได้ รายจ่าย ดอกเบี้ยและสินทรัพย์ ของสถาบันการเงิน ซึ่งมีวิธีคำนวณแบบนี้คือ
NIM เท่ากับ รายได้ดอกเบี้ยรับ (บาท) – รายจ่ายดอกเบี้ย (บาท) หารด้วย สินทรัพย์เฉลี่ย (บาท)
ทีดีอาร์ไอ แนะ ธปท.ดูแลส่วนต่างดอกเบี้ย
นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย แนะ ธปท.ลดส่วนต่างดอกเบี้ยลงได้ เพราะ NIM ของธนาคารไทยสูงถึง 3.4%
นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่ว่าแบงก์กำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 2 แสนล้านบาท แต่ประชาชนต้องเผชิญกับเศรษฐกิจที่แย่ลง เหมือธุรกิจแบงก์เป็นเสือนอนกินว่า ต้องเข้าใจว่า ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกิจซึ่งก็มีความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อ บางส่วนอาจจะหนี้เสีย และแบงก์ก็มีบทบาทหน้าที่ต้องจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น
ดังนั้นแบงก์พาณิชย์ก็ต้องมีกำไรทางธุรกิจ และ ต้องมีเงินกองทุนสำรองความเสี่ยงควบคู่ไปด้วย
แต่ยอมรับว่า ข้อวิจารณ์ว่าส่วนต่างดอกเบี้ยเงินฝาก กับ หรือ เงินกู้ ( NIM ) ของแบงก์ไทยสูงเกินไป เพราะปัจจุบัน Nim ของแบงก์ไทย อยูที่ 3.4 % สูงสุดในประเทศที่กำลังพัฒนา และสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สิงคโปร์ ดังนั้นธนาคารแห่งประเทศไทย ควร ควรดูแลส่วนนี้ หรือ ศึกษาส่วนต่างดอกเบี้ยจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อให้ส่วนต่างดอกเบี้ยของไทยลดลง เชื่อว่าทำได้ และ จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค
สำหรับค่าเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ทั่วโลกอยู่ที่ 0.25-2 % ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ 5.5-8% ซึ่งหากเทียบกับประเทศไทย ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำมากเริ่มที่ 0.25 % แต่ดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ 7 %
นอกจากนี้ นักวิชาการจากทีดีอาร์ไอ ยังแนะให้รัฐบาลใช้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐเข้ามาแข่งขันกับแบงก์เอกชน เพื่อให้แบงก์เอกชนปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง ขณะที่ผู้บริโภคต้องศึกษาทางเลือกในการกู้เงิน เช่น เลือกแบงก์ที่ให้ดอกเบี้ยเงินกู้ต่่ำ หรือมีโปรโมชั่นสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ หรือ สินเชื่อดอกเบี้ยคงที่
ส่วนกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ไม่เห็นด้วยที่แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยนั้น เพราะเงินเฟ้อต่ำมาก ดังนั้นอาจจะต้องพิจารณาเรื่องการลดดอกเบี้ยนโยบายด้วย นายนณริฏ มองว่า
หากเป็นการติ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สามารถทำได้ แต่ถ้ารัฐบาลเข้ามาแทรกแซงด้วยคำสั่ง เช่น ให้ลดดอกเบี้ย หรือ มีคนของรัฐบาลเข้ามาสั่งการให้แบงก์ชาติทำตามนโยบายรัฐบาล เป็นเรื่องที่รับไม่ได้
เช็กวันมงคล ฤกษ์ดี วันดี-วันกาลกิณี "เดือน มีนาคม" คำพูดจาก เว็บสล็อต PG
เกาหลีเหนือยิงปืนใหญ่มาทางเกาหลีใต้อีกครั้ง เป็นวันที่ 3 ติดต่อกันแล้ว
ผลการสอบ TGAT/TPAT ออกแล้ว! เปิดสถิติคะแนนของเด็ก TCAS67